รู้จัก SquarEat สตาร์ตอัปผู้พัฒนา อาหารอัดก้อน สารอาหารครบ /โดย ลงทุนแมน
ในช่วงที่ผ่านมา พฤติกรรมการรับประทานอาหารของเราต้องการทั้งความง่ายและสะดวกรวดเร็ว
เพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตที่วุ่นวายขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มคนที่อยู่ในตัวเมือง
นั่นจึงทำให้ธุรกิจอาหารกล่องสำเร็จรูป อาหารพร้อมรับประทานตามร้านสะดวกซื้อ
รวมถึงแพลตฟอร์มสั่งอาหารดิลิเวอรี เติบโตได้แบบก้าวกระโดดในหลายประเทศ
แต่รู้หรือไม่ว่าขณะนี้ เราอาจจะกำลังเข้าสู่อีกยุคของวิวัฒนาการทางธุรกิจอาหาร
นั่นก็เพราะว่า “SquarEat” สตาร์ตอัปอเมริกัน ได้คิดค้นนวัตกรรมอาหารรูปแบบใหม่
ที่อัดอาหารต่าง ๆ ให้อยู่ในรูปทรงก้อนสี่เหลี่ยมขนาดฝ่ามือ แต่ยังคงเต็มเปี่ยมไปด้วย
สารอาหารครบถ้วน ซึ่งง่ายและสะดวกสบายต่อการรับประทานเป็นอย่างมาก
แล้วไอเดีย อาหารอัดก้อนของ SquarEat น่าสนใจขนาดไหน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
SquarEat เป็นบริษัทสตาร์ตอัปด้านอาหารจากไมอามี ประเทศสหรัฐอเมริกา
ที่ทำธุรกิจออกแบบและพัฒนาอาหาร โดยมีคอนเซปต์อยู่ที่ทุกเมนู
ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตาม จะถูกทำขึ้นให้อยู่ในรูปแบบ “ก้อนสี่เหลี่ยม” เท่านั้น
ซึ่งในแต่ละก้อน ก็จะถูกบรรจุด้วยสารอาหารที่ครบถ้วนพอดีสำหรับ 1 มื้อ
โดยก้อนดังกล่าวจะมีน้ำหนักเพียง 50 กรัม
ไอเดียธุรกิจนี้มีจุดเริ่มต้นมาจากหนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัท
นั่นก็คือ Paolo Cadegiani อดีตเทรนเนอร์ในยิม
ซึ่งเขามักจะเป็นคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับอาหารสุขภาพในปัจจุบัน
เนื่องจากว่าปกติแล้ว อาหารสุขภาพหรืออาหารทำจากวัตถุดิบที่ดีมักจะมีราคาที่แพงจนเกินไป
หรือหากปรุงอาหารเอง เราก็จะต้องเสียเวลาตั้งแต่การจับจ่ายหาวัตถุดิบและเข้าห้องครัวด้วยตัวเอง
และด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ที่ผ่านมา จึงทำให้ Cadegiani มีเวลาว่างในการคิดค้นสูตรอาหารร่วมกับพ่อครัวที่ร้านอาหารถูกปิด เพื่อพัฒนารูปแบบของอาหารที่สามารถรับประทานแล้วสุขภาพดี อร่อย และสามารถรับประทานได้อย่างรวดเร็ว
จนในที่สุด Cadegiani ก็คิดค้นอาหารก้อนรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสได้สำเร็จ
โดยวัตถุดิบที่นำมาผลิตเป็นอาหารก้อนของ SquarEat จะมาจากธรรมชาติ 100%
เช่น เมนูไก่ ก็ทำมาจากอกไก่จริง ๆ ไม่ได้ทำมาจากเนื้อทดแทนที่สังเคราะห์จากพืช
นอกจากนี้ ทางบริษัทก็ยังไม่ใช้สารปรุงแต่ง ไม่มีส่วนผสมของนม กลูเทน ถั่ว น้ำตาล และไข่
เพื่อให้ผู้บริโภคไม่ต้องมากังวลว่าจะแพ้ส่วนผสมอาหารที่ว่ามานี้หรือไม่
นอกจากวัตถุดิบที่มีคุณภาพแล้ว SquarEat มีอีกจุดเด่นก็คือกระบวนการปรุงอาหารที่สามารถรักษาคุณประโยชน์และความอร่อยของอาหารไว้ได้ โดยการใช้เทคนิคปรุงอาหารที่อุณหภูมิต่ำและลดอุณหภูมิอาหารกะทันหัน
วิธีนี้ ทางบริษัทระบุว่าจะช่วยลดการสูญเสียสารอาหารระหว่างการปรุงและยังสามารถรักษาความฉ่ำของเนื้อสัตว์ต่าง ๆ เอาไว้ได้อีกด้วย ซึ่ง SquarEat ถึงกับมั่นใจว่าอาหารจะไม่เพียงแค่มีประโยชน์เท่านั้น แต่ยังคงความอร่อยเอาไว้ได้อีกด้วย
ในขณะเดียวกัน SquarEat ก็ได้เลือกใช้การบรรจุผลิตภัณฑ์แบบปิดผนึกด้วยสุญญากาศ
ซึ่งจะทำให้อาหารยังรักษาความสดใหม่ไว้ได้และมีอายุอยู่ได้ยาวนาน 2 ถึง 3 สัปดาห์
หากพูดถึงด้านสิ่งแวดล้อม ก็ดูเหมือนว่า SquarEat จะตอบโจทย์เช่นกัน เพราะบริษัทระบุว่าวัตถุดิบที่เลือกนำมาประกอบอาหารนั้นจะถูกนำมาใช้เกือบทั้งหมดและไม่เหลือทิ้งให้เป็นขยะ
ในปัจจุบัน SquarEat เริ่มจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เป็นกล่อง ซึ่งแต่ละกล่องประกอบด้วยอาหาร 4 ถึง 6 ก้อน ซึ่งก็ถูกคำนวณมาแล้วว่าอาหารในกล่องจะมีสารอาหารที่ครบถ้วนตามปริมาณที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน
หรือหากเราจะแบ่งรับประทานร่วมกับอาหารปกติด้วยก็ทำได้เช่นกัน เพราะ SquarEat บอกอย่างชัดเจนว่าใน 1 ชิ้นจะประกอบด้วยสารอาหารอะไรบ้างและมีปริมาณขนาดไหน ทำให้ง่ายต่อการคำนวณในการรับประทาน
และด้วยความที่เป็นอาหารพร้อมรับประทาน จึงสามารถเลือกรับประทานแบบเย็นหรือผ่านการปรุงให้ร้อน ในรูปแบบทอดแบบน้ำมัน ไร้น้ำมัน หรืออุ่นผ่านไมโครเวฟตามที่ตัวเองต้องการ
หากใครที่ไม่สามารถตัดสินใจได้ว่า ควรเลือกซื้ออาหารแบบไหนบ้าง
SquarEat ก็มีให้บริการเลือกเซตอาหารตามไลฟ์สไตล์ที่ตรงกับตัวเอง
เช่น คนที่ต้องการไดเอต ชาววีแกน หรือแม้กระทั่งคนที่กำลังเสริมกล้ามเนื้อก็ตาม
เรียกได้ว่า ใครชอบแบบไหนก็เลือกแบบนั้นได้เลย
ปัจจุบันกล่องหนึ่งมีราคาตั้งแต่ 180 ถึง 260 บาท นับว่าเป็นราคาที่ค่อนข้างถูก
หากเทียบกับค่าครองชีพของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นไปตามความต้องการของผู้ก่อตั้ง
ที่อยากให้ผู้คนสามารถเข้าถึงอาหารสุขภาพได้ง่าย
อย่างไรก็ตาม หลายคนคงจะยังส่ายหัวให้กับ SquarEat เพราะเห็นได้ชัดว่าเจ้าอาหารทรงสี่เหลี่ยมนี้แม้จะทำออกมาได้ดีขนาดไหน แต่มันก็ดูเหมือนจะเข้ามาตัดอรรถรสในการรับประทานของเราไปโดยสิ้นเชิง แต่ต้องยอมรับว่าอาหารแนวนี้ ก็อาจจะเป็นที่ต้องการสำหรับคนบางกลุ่ม โดยเฉพาะผู้ที่ต้องแข่งขันกับเวลา
แล้วนอกจาก SquarEat แล้ว ยังมีบริษัทไหนอีกบ้าง
ที่เปลี่ยนอาหารจานเดียวให้กลายเป็นรูปทรงอย่างอื่น หรือไม่ ?
คำตอบก็คือ มี และบริษัทแห่งนั้นชื่อว่า “Huel” ซึ่งก็เป็นสตาร์ตอัปอาหารเหมือนกัน
โดยบริษัทแห่งนี้ไม่ได้เปลี่ยนอาหารให้กลายเป็นก้อน
แต่ Huel จะเปลี่ยนให้กลายเป็นของเหลวหรือเป็นเครื่องดื่ม ที่มีแต่สารอาหารล้วน
แถมยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องของรสชาติ แต่ก็ยังมีคนเลือกบริโภคอยู่
และสามารถสร้างรายได้แตะ 3,000 ล้านบาทเป็นที่เรียบร้อย
ซึ่งเมื่อเรานำ Huel มาเทียบกับผลิตภัณฑ์ของ SquarEat ที่พัฒนาอาหารอัดก้อน ก็ถือว่าเป็นไอเดียนวัตกรรมทางอาหารที่น่าสนใจไม่แพ้กัน
จะว่าไปรูปแบบการกินอาหารของเราก็เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตมาก
หมู ไก่ ที่เรากินทุกวันนี้ คนโบราณก็ไม่ได้กินแบบเรา
ตัวอย่างเช่น คนไทยโบราณจะนิยมกินสัตว์ที่หาได้ตามป่า ไม่ใช่สัตว์ที่เลี้ยงจากฟาร์ม การที่มนุษย์กินสัตว์ในฟาร์ม ก็เพิ่งมาพัฒนาในช่วงร้อยปีหลังสุดนี้เอง
ดังนั้นก็ไม่แปลก ที่ในอนาคต รูปแบบการกินของเราจะเปลี่ยนไปอีกครั้ง
โดยที่หน้าตาของมัน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนเดิม..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.theverge.com/2021/8/26/22642587/square-food-startup-squareat
-https://squareat.com/
-https://www.eater.com/2021/8/26/22643375/square-food-startup-squareat-extremely-sad-food
-https://wefunder.com/squareat
-https://www.prnewswire.com/news-releases/squareat-is-ready-to-revolutionize-the-food-concept-and-is-now-live-on-the-wefunder-platform-301355363.html
-https://www.thrillist.com/news/nation/what-is-squareat
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
「2021 startup ideas」的推薦目錄:
- 關於2021 startup ideas 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
- 關於2021 startup ideas 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
- 關於2021 startup ideas 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
- 關於2021 startup ideas 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的最讚貼文
- 關於2021 startup ideas 在 大象中醫 Youtube 的最佳貼文
- 關於2021 startup ideas 在 大象中醫 Youtube 的最佳解答
- 關於2021 startup ideas 在 200 Business Ideas in 2021 - Pinterest 的評價
2021 startup ideas 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
รู้จัก "ไรเดอร์ในยุคถัดไป" Nuro รถดิลิเวอรีไร้คนขับ /โดย ลงทุนแมน
ภาพที่ทุกคนเห็นว่ามีไรเดอร์คอยส่งอาหารดิลิเวอรีให้เรา
ภาพนี้อาจจะอยู่ได้แค่ในยุคนี้ก็เป็นได้
เพราะในอนาคตการดิลิเวอรีเหล่านี้ อาจทำได้โดยรถที่ไร้คนขับ
“Nuro” สตาร์ตอัปจากสหรัฐอเมริกา คือผู้พัฒนายานพาหนะไร้คนขับเพื่อรับส่งสินค้าแบบ “ดิลิเวอรี” โดยเฉพาะ
รถดิลิเวอรีไร้คนขับของ Nuro น่าสนใจอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
การดิลิเวอรี เป็นเมกะเทรนด์ของโลก
รถไร้คนขับ ก็เป็นเมกะเทรนด์ของโลก
ดังนั้นเมื่อนำ การดิลิเวอรี + รถไร้คนขับ มารวมกันก็น่าจะเป็นซูเปอร์เมกะเทรนด์ที่กำลังมีพัฒนาการอย่างรวดเร็ว
โดยยานยนต์ไร้คนขับในเชิงพาณิชย์ส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกพัฒนาเพื่อการใช้งานใน 2 รูปแบบหลัก คือเพื่อรับส่งคนและขนส่งสินค้า
ซึ่งบริษัทที่เน้นพัฒนารถสำหรับรับส่งคน ก็มีผู้นำอยู่มากมาย อย่างเช่น Waymo ของ Alphabet, Zoox ของ Amazon และ AutoX จากประเทศจีน รวมไปถึงผู้ให้บริการแอปพลิเคชันเรียกรถรับส่งอยู่แล้วอย่าง Uber
ส่วนบริษัทที่เน้นพัฒนารถสำหรับขนส่งสินค้า ก็มีผู้นำอย่างเช่น TuSimple, Aurora และ Embark ซึ่งล้วนเป็นรถบรรทุกไร้คนขับที่ใช้สำหรับส่งสินค้าจำนวนมากเป็นระยะทางไกล จากจุดเก็บสินค้าหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง
นั่นจึงทำให้สตาร์ตอัปที่ชื่อว่า “Nuro” เลือกสร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ของตัวเอง ด้วยการเน้นพัฒนารถไร้คนขับ เพื่อส่งสินค้าจากร้านค้าไปถึงมือผู้รับ อย่างเช่น ของสดจากซูเปอร์มาร์เกต อาหาร และพัสดุ ในรูปแบบบริการดิลิเวอรี
Nuro เพิ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2016 หรือ 5 ปีที่แล้ว ที่เมืองเมาน์เทนวิว รัฐแคลิฟอร์เนีย โดยคุณ Dave Ferguson และคุณ Jiajun Zhu
ซึ่งผู้ร่วมก่อตั้งทั้งคู่ เคยเป็นหัวหน้าทีมวิศวกรในโปรเจกต์พัฒนายานยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติของ Google ที่ภายหลังจดทะเบียนแยกเป็นบริษัทโดยใช้ชื่อว่า Waymo
ในปี 2017 Nuro ได้รับใบอนุญาตเพื่อทดสอบรถส่งของไร้คนขับในสนามทดลอง โดยในช่วงแรก Nuro เริ่มต้นพัฒนาระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ เพื่อใช้กับรถยนต์พริอุสของโตโยต้า
หลังจากนั้น Nuro ค่อยเปิดตัวยานยนต์ไร้คนขับที่ออกแบบเองรุ่นแรก ที่ชื่อ R1 ในปี 2018 และพัฒนาต่อยอดเป็นรุ่นที่ 2 ที่ชื่อว่า R2 ซึ่งเปิดตัวไปเมื่อต้นปี 2020
ที่น่าสนใจก็คือ ดีไซน์ยานยนต์ของ Nuro ที่ถูกออกแบบมาใหม่เพื่อการส่งสินค้าโดยเฉพาะ จึงไม่มีที่นั่งสำหรับคนขับ มีเพียงพื้นที่สำหรับบรรจุสินค้าแบบควบคุมอุณหภูมิได้
โดยตัวรถเป็นรูปทรงคล้ายกับเครื่องปิ้งขนมปังที่มีล้อขนาดเล็ก 4 ล้อ และขนาดกะทัดรัดกว่ารถยนต์ทั่วไป
ในเรื่องความปลอดภัย Nuro ได้ติดตั้งระบบความปลอดภัยจำนวนมาก ตามมาตรฐานของยานยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ เพื่อลดโอกาสเกิดอุบัติเหตุ อย่างเช่น กล้อง 360 องศา, กล้องตรวจจับความร้อน, LiDAR และ Radar เพื่อตรวจจับสิ่งกีดขวาง
นอกจากนี้ Nuro ยังถูกกำหนดให้ทำความเร็วสูงสุดได้ไม่เกิน 56 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และสามารถให้บริการได้เฉพาะในช่วงที่สภาพอากาศปกติ เท่านั้น
โดย Nuro เริ่มทดสอบระบบและให้บริการในรัฐแอริโซนาและเท็กซัสก่อน ซึ่งเป็นเมืองแห่งการทดสอบยานยนต์ไร้คนขับอยู่แล้ว และ Nuro เลือกให้บริการในย่านที่อยู่อาศัยและแถบชานเมืองที่รถวิ่งไม่พลุกพล่าน
สำหรับเส้นทางการให้บริการดิลิเวอรีของ Nuro เริ่มขึ้นในปี 2018 โดยมี Kroger เชนซูเปอร์มาร์เกตขนาดใหญ่ มาร่วมมือพัฒนาระบบดิลิเวอรี เพื่อส่งสินค้าโดยเฉพาะของสดภายในวันที่สั่งเลย
ในปีนั้น Kroger เริ่มให้บริการดิลิเวอรีด้วยรถของ Nuro ที่เมืองสกอตส์เดล รัฐแอริโซนา ก่อนขยายไปที่เมืองฮิวสตัน รัฐเท็กซัส ในช่วงต้นปี 2019
ซึ่ง Kroger ให้บริการโดยไม่กำหนดยอดซื้อขั้นต่ำและคิดค่าบริการแบบคงที่ที่ 5.95 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 197 บาท
หลังจากนั้น Walmart ซึ่งเป็นเชนร้านค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุด ก็ได้เข้ามาร่วมมือกับ Nuro เพื่อให้บริการส่งสินค้าที่เมืองฮิวสตันเช่นกัน
ต่อมา Nuro ก็ได้ขยายตลาดไปสู่สินค้าประเภทอาหารพร้อมทานร่วมกับ Domino’s Pizza ในปี 2019
ก่อนที่จะเริ่มให้บริการส่งพิซซาแบบไร้คนขับได้จริง ที่เมืองฮิวสตัน เมื่อเดือนเมษายน ปี 2021 ที่ผ่านมา
ความร่วมมือกับ Domino’s Pizza นี้ก็นับว่าน่าสนใจและเป็นโอกาสขยายการให้บริการที่สำคัญ
ที่บอกแบบนี้ก็เพราะว่าในปี 2020 ที่ผ่านมา ชาวอเมริกันบริโภคพิซซาแบบดิลิเวอรีคิดเป็นมูลค่ากว่า 4.64 แสนล้านบาท ซึ่งเกือบครึ่งหนึ่งมาจากแบรนด์เดียว นั่นคือ Domino’s Pizza
รวมถึงในปี 2020 ที่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด 19 Nuro ก็ได้ขยายการให้บริการไปสู่กลุ่ม Healthcare โดยร่วมมือกับ CVS เชนร้านขายยาขนาดใหญ่ เพื่อบริการขนส่งถึงบ้าน สำหรับยาที่มีใบสั่งยาจากแพทย์หรือเภสัชกร ในเมืองฮิวสตัน เช่นเดิม
นอกจากนี้ Nuro ยังใช้ประโยชน์ของรถดิลิเวอรีไร้คนขับเพื่อเข้าไปช่วยส่งอุปกรณ์การแพทย์ ยา เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์อื่นที่สำคัญ ให้กับสเตเดียม 2 แห่งในรัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งเป็นศูนย์รักษาผู้ติดเชื้อโควิด 19
และล่าสุดในปี 2021 Nuro ก็ขยายมาสู่บริการขนส่งพัสดุ โดยร่วมมือกับ FedEx
การใช้บริการระบบดิลิเวอรีด้วยรถ Nuro ทำได้เหมือนการสั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันของแต่ละเจ้า เช่น Kroger และ Domino’s Pizza เพียงแค่เลือกวิธีการขนส่งเป็นของ Nuro ซึ่งสามารถเลือกเวลารับสินค้าได้เองด้วย
เมื่อสั่งซื้อสินค้าไปแล้ว ก็จะมีแผนที่ให้ดูได้ว่ารถส่งของอยู่ตรงไหนและจะมีรหัสส่งมาให้
เพื่อใช้ปลดล็อกเพื่อหยิบของเมื่อรถส่งของมาถึง โดยใส่รหัสผ่านหน้าจอแบบสัมผัส
แม้ว่าในปัจจุบัน ลูกค้าที่สั่งสินค้าและใช้บริการดิลิเวอรีของ Nuro ยังต้องเสียค่าบริการอยู่ แต่ผู้บริหารมีเป้าหมายที่จะไม่คิดค่าบริการในอนาคต โดยจะเก็บค่าบริการจากร้านค้าที่เลือกใช้บริการของ Nuro เท่านั้น
ซึ่งก็สอดคล้องกับข้อมูลที่ว่าชาวอเมริกันกว่า 90% ชื่นชอบบริการรถดิลิเวอรีไร้คนขับ แต่ยังมีอุปสรรคที่สำคัญคือค่าบริการ
สิ่งที่น่าติดตามก็คือว่า บางบริษัทที่เป็นพาร์ตเนอร์กับ Nuro ก็ยังร่วมพัฒนาระบบดิลิเวอรีไร้คนขับกับเจ้าอื่นด้วย อย่างเช่น Domino’s Pizza ที่เคยเป็นพาร์ตเนอร์กับ Ford มาก่อน และ Walmart ก็เลือกเป็นพาร์ตเนอร์กับสตาร์ตอัปอีกหลายเจ้า
แต่เมื่อเทียบกับพาร์ตเนอร์เหล่านั้น ยังคงมีเพียง Nuro ที่เป็นรถที่ออกแบบมาเพื่อบรรจุสินค้าโดยเฉพาะ
นอกจากผู้พัฒนารถไร้คนขับเพื่อส่งของเหมือนกันแล้ว คู่แข่งของ Nuro ก็ยังมีบริการส่งของไร้คนขับในรูปแบบอื่น อย่างเช่น หุ่นยนต์ส่งของมีล้อที่ชื่อ Scout ของ Amazon ที่มีขนาดเล็กกว่ารถของ Nuro และไม่ได้วิ่งบนถนน แต่วิ่งได้เฉพาะบนทางเท้า
ยังรวมไปถึงการขนส่งสินค้าด้วยโดรน ที่แม้จะเหมาะสำหรับใช้ขนส่งสินค้าบางประเภทที่แตกต่างกัน แต่ก็ถือเป็นพัฒนาการที่น่าจับตามอง
ซึ่งความเสี่ยงเหล่านี้ ก็ถือเป็นเรื่องปกติของการแข่งขันทางธุรกิจ แต่ที่สำคัญก็คือช่วงเวลาที่ผ่านมา Nuro ได้พิสูจน์มาในระดับหนึ่งว่าเป็นผู้นำของรถดิลิเวอรีไร้คนขับ
โดยรถรุ่น R2 ที่เปิดตัวช่วงต้นปี 2020 เป็นยานยนต์ไร้คนขับรุ่นแรก ที่ไม่มีพวงมาลัย คันเร่ง เบรก กระจกมองข้าง กระจกมองหลัง และส่วนประกอบอื่นตามมาตรฐานรถยนต์แบบดั้งเดิม ที่ผ่านมาตรฐานความปลอดภัย จากหน่วยงานภาครัฐ
หลังจากนั้นไม่นาน Nuro ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานด้านการขนส่งของรัฐแคลิฟอร์เนีย ให้เริ่มทดสอบวิ่งส่งของได้จริง เป็นบริษัทที่ 2 ต่อจาก Waymo
และปลายปี 2020 Nuro ก็แซง Waymo ได้ด้วยการได้รับอนุญาตให้บริการรถส่งของไร้คนขับ “เชิงพาณิชย์” เป็นบริษัทแรกในแคลิฟอร์เนีย นั่นคือสามารถเริ่มเก็บค่าบริการขนส่งได้
ซึ่งที่ผ่านมา Nuro ก็สามารถระดมทุนไปได้ราว 49,725 ล้านบาท จากกองทุนชั้นนำอย่าง Baillie Gifford และ Fidelity Management and Research รวมไปถึง Softbank Vision Fund ซึ่งเป็นผู้ลงทุนหลักกว่า 60% ของเงินทุนทั้งหมดที่ Nuro ได้รับ จนปัจจุบัน Nuro ถูกประเมินมูลค่ากว่า 165,750 ล้านบาท
จากเรื่องราวการสร้างความแตกต่างให้ยานยนต์ไร้คนขับของ Nuro ก็ทำให้เราสรุปได้ว่านวัตกรรมรถไร้คนขับกำลังจะเข้ามามีบทบาทต่อชีวิตเรามากขึ้นในอนาคต และก็น่าจะเป็นอีกหนึ่งในเมกะเทรนด์ ที่น่าจับตามอง
และเมื่อถึงเวลานั้นจริง ไรเดอร์ที่เป็นมนุษย์ซึ่งมีบทบาทต่อวงการดิลิเวอรีในปัจจุบัน ก็อาจเจอความท้าทาย อย่างยิ่ง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.businessinsider.com/self-driving-delivery-vehicle-startup-nuro-how-it-works-2020-11
-https://techcrunch.com/2020/12/23/nuro-can-now-operate-and-charge-for-autonomous-delivery-services-in-california/
-https://techcrunch.com/2020/11/09/autonomous-delivery-startup-nuro-hits-5-billion-valuation-on-fresh-funding-of-500-million/
-https://www.theverge.com/2018/8/16/17693760/nuro-kroger-self-driving-delivery-scottsdale-arizona
-https://www.theverge.com/2018/1/30/16936548/nuro-self-driving-delivery-last-mile-google
-https://www.theverge.com/2020/4/22/21231466/nuro-delivery-robot-health-care-workers-food-supplies-california
-https://www.wired.com/story/vehicle-no-side-view-mirrors-legal/
-https://www.crunchbase.com/organization/nuro-2
2021 startup ideas 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
Invisalign นวัตกรรมจัดฟันใส ล้านล้าน /โดย ลงทุนแมน
หากเราพูดถึงเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการจัดฟัน
หนึ่งในนั้นก็ต้องมีชื่อของ “Invisalign” หรือการจัดฟันแบบใส
ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมการจัดฟัน ภายใต้บริษัท Align Technology
รู้หรือไม่ว่าบริษัทแห่งนี้ จดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้น Nasdaq
และถือเป็นหนึ่งในบริษัท ที่มีมูลค่าเติบโตขึ้นแบบก้าวกระโดด
ปัจจุบัน มีมูลค่าบริษัท 1.8 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็น 7.6 เท่า เมื่อเทียบกับ 5 ปีก่อน
เราเคยสงสัยไหมว่า การจัดฟันเริ่มขึ้นมาตั้งแต่เมื่อไร
แล้วบริษัท Align Technology น่าสนใจขนาดไหน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
จริง ๆ แล้ว หลักฐานทางประวัติศาสตร์ระบุว่าการจัดฟัน มีมาตั้งแต่สมัยอียิปต์โบราณ
อ้างอิงจากการพบเครื่องมือทันตกรรมและอุปกรณ์จัดฟันที่ถูกผลิตขึ้น
โดยสมัยนั้นมีวัสดุเป็นทองคำ
หลังจากช่วงอียิปต์โบราณ การจัดฟันก็ยังไม่ได้เป็นที่แพร่หลายมากนัก
จนกระทั่งมาถึงศตวรรษที่ 19 ก็ได้มีการใช้คำศัพท์ “Orthodontics”
แปลว่าการจัดฟันอย่างเป็นทางการ
คำดังกล่าวถูกคิดค้นขึ้นโดย คุณ Pierre-Joachim Lefoulon หมอฟันชาวฝรั่งเศส
ที่เป็นผู้เรียบเรียงหนังสือ The Surgeon Dentist ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการจัดฟัน
ซึ่งปัจจุบันได้รับการยอมรับให้กลายมาเป็นวิธีแก้ไขปัญหาการเรียงตัวของฟัน
รวมถึงเป็นการรักษาสภาพเหงือกและฟันให้ใช้งานได้ยาวนานขึ้น
รู้หรือไม่ว่ากว่า 60% ของประชากรทั่วโลกประสบปัญหาเรื่องการเรียงตัวของฟัน
ซึ่งในกลุ่มประชากรในประเทศพัฒนาแล้ว พบว่ามีการจัดฟันเฉลี่ยราว 15 ล้านรายต่อปี
จากภาพรวมตรงนี้ สะท้อนให้เห็นว่าการจัดฟันถือเป็นหนึ่งในธุรกิจ ที่มีความข้องเกี่ยวกับประชากรเป็นจำนวนมากและกำลังเติบโต โดยมีการคาดการณ์ว่าตลาดการจัดฟันจะมีมูลค่าราว 350,000 ล้านบาทในปี 2027
ทีนี้ เรามาดูกันว่า Invisalign หรือนวัตกรรมการจัดฟันด้วยพลาสติกใส
ถูกคิดค้นขึ้นมาเมื่อไร แล้วใครเป็นคนคิด ?
Invisalign เป็นชื่อเรียกของระบบการจัดฟันใส มีความหมายตรงไปตรงมา
ผสมกันระหว่างคำว่า “Invisible” แปลว่าล่องหน รวมกับ “Aligners” แปลว่าการจัดฟัน
เทคโนโลยีดังกล่าว เป็นของบริษัท Align Technology ที่มีจุดเริ่มต้น
มาจากอดีตนักศึกษา Stanford University 2 คน ก็คือ Kelsey Wirth และ Zia Chishti
หนึ่งในผู้ก่อตั้ง หรือ Chishti พบว่าหลังจากที่จัดฟันเสร็จแล้ว ทันตแพทย์จะพิมพ์ฟันของเรา
หลังจากนั้น ก็จะนำไปทำเป็นรีเทนเนอร์พลาสติก เพื่อให้เราใส่ไว้เพื่อคงสภาพฟัน
ให้เป็นระเบียบ ถือเป็น Post Treatment หรือการดูแลรักษาหลังถอดแบร็กเกต
หรืออุปกรณ์จำพวกโลหะ ลวดและยางออกไปแล้ว
จุดนี้เอง Chishti จึงได้ไอเดียขึ้นมาว่าแล้วทำไมเรายังต้องใช้เครื่องมือ
ที่ต้องติดอยู่กับฟันเราถาวรแบบนี้ เป็นระยะเวลาหลายปี
ทั้ง ๆ ที่รีเทนเนอร์พลาสติกใส แบบที่ใช้ทำรีเทนเนอร์ ก็น่าจะมีคุณสมบัติ
ในการเคลื่อนฟันและคงสภาพฟันให้เป็นระเบียบได้เหมือนกัน
นั่นจึงทำให้หลังจากนั้น Wirth และ Chishti เริ่มพัฒนาเครื่องมือพลาสติกใส
สำหรับการจัดฟันขึ้นมา เพื่อหวังว่ามันจะเข้าไปแก้ไขปัญหาการจัดฟันแบบดั้งเดิม
ด้วยความที่ทั้ง 2 ผู้ก่อตั้ง มีพื้นฐานการศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์
พวกเขาก็ได้เริ่มจำลองอุปกรณ์ต้นแบบบนโปรแกรมออกแบบ 3 มิติ
ก่อนที่จะนำต้นแบบไปนำเสนอ จนมีคนสนใจเข้าร่วมเป็นพาร์ตเนอร์กับพวกเขาอีก 2 คน
ในที่สุด พวกเขาก็ได้นำไอเดียดังกล่าวมาก่อตั้งเป็นธุรกิจผลิตอุปกรณ์จัดฟันใส
ภายใต้บริษัทที่ชื่อว่า “Align Technology” ในปี 1997
Align Technology ได้นำเทคโนโลยีการออกแบบ 3 มิติและการพิมพ์ 3 มิติ
มาพัฒนาเป็นซอฟต์แวร์ของทางบริษัทเอง เพื่อนำไปใช้สำหรับจัดทำเครื่องมือจัดฟันใส
นอกจากนั้น บริษัทก็มีการนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้ศึกษาข้อมูลคนไข้ใหม่
รวมถึงศึกษาจากข้อมูลฐานคนไข้เดิมเพื่อนำไปออกแบบเครื่องมือ
ให้เข้ากับรูปฟันของคนไข้แต่ละราย ทั้งหมดนี้ ถูกเรียกว่า “Invisalign System”
หลังจากก่อตั้งบริษัท 2 ปี อุปกรณ์จัดฟันใสของบริษัทก็ถูกพัฒนาขึ้นจนสำเร็จ
และก็ได้การรับรองจาก FDA หรือองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา
โดยบริษัทก็ได้เริ่มดำเนินธุรกิจตั้งแต่นั้นมาและสามารถจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ Nasdaq ได้
หลังจากก่อตั้งธุรกิจได้เพียง 4 ปี
และในปี 2011 บริษัทได้เข้าซื้อบริษัทพัฒนาเครื่องสแกนช่องปาก iTero
เพื่อนำมาพัฒนาระบบให้วิเคราะห์ปัญหาของคนไข้ได้ถูกต้องและแม่นยำมากขึ้น
แล้วปัจจุบัน Align Technology ใหญ่ขนาดไหน ?
ปัจจุบัน บริษัท Align Technology ดำเนินธุรกิจมา 24 ปี รักษาคนไข้และมีฐานข้อมูลคนไข้
อยู่บนระบบกว่า 10.2 ล้านเคส และได้ขยายฐานลูกค้าครอบคลุมแทบทุกช่วงอายุ
แบ่งกลุ่มคนไข้ออกเป็นวัยรุ่น 25% และผู้ใหญ่ 75%
หากเรามาดูผลประกอบการของ Align Technology ในช่วงที่ผ่านมา
ปี 2017 รายได้ 48,770 ล้านบาท กำไร 7,660 ล้านบาท
ปี 2018 รายได้ 64,730 ล้านบาท กำไร 13,250 ล้านบาท
ปี 2019 รายได้ 79,500 ล้านบาท กำไร 14,660 ล้านบาท
จะเห็นได้ว่าบริษัทมีการเติบโตแบบก้าวกระโดด
มีรายได้และกำไรเติบโตเฉลี่ย 28% และ 38% ต่อปี
สำหรับในปี 2020 บริษัทก็ยังคงเติบโต แต่เติบโตในอัตราที่ต่ำลง เนื่องจากผลกระทบจากโรคระบาดโควิด 19 บริษัทมีรายได้อยู่ที่ 81,800 ล้านบาท และมีกำไร 58,800 ล้านบาท ซึ่งบริษัทมีรายการพิเศษทางบัญชี
จึงทำให้กำไรเพิ่มขึ้นมาก เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
ในขณะเดียวกัน หากเรามาดูผลประกอบการ
ไตรมาสที่ 2 ปี 2021 ที่เพิ่งประกาศเมื่อไม่นานมานี้
ไตรมาสที่ 2 ปี 2020 รายได้ 11,670 ล้านบาท
ไตรมาสที่ 2 ปี 2021 รายได้ 33,457 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 187%
โดยการเติบโตเป็นผลมาจากการส่งมอบอุปกรณ์จัดฟันไปกว่า 665,500 เคส
สะท้อนให้เห็นว่า Invisalign ถือเป็นอีกธุรกิจที่มีความต้องการฟื้นตัวขึ้นมาทันที
หลังสถานการณ์โรคระบาดปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งปีแรก
นอกจากการเติบโตของรายได้และกำไรแล้ว ข้อมูลจากผลประกอบการของ Align Technology ก็ยังถือว่ามีอีกหลายจุดที่น่าสนใจ
เรื่องแรกก็คือ จริง ๆ แล้ว บริษัทแห่งนี้มีกำไรขั้นต้น หรือ รายได้หักต้นทุน ที่สูงมาก
เฉลี่ยย้อนหลัง 4 ไตรมาส สูงถึง 74% หมายความว่าเครื่องมือจัดฟันใสของ Align Technology
มีความสามารถในการตั้งราคาที่แพงได้และยังมีคนยอมจ่าย
อย่างไรก็ตาม บริษัทก็มีค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการทำการตลาด ค่าคอมมิชชัน และเงินเดือนผู้บริหาร
สูงไม่แพ้กัน หรือที่เรียกรวมกันสั้น ๆ ว่า SG&A (Selling, General & Administrative Expenses)
ปี 2018 SG&A ต่อรายได้ คิดเป็น 43%
ปี 2019 SG&A ต่อรายได้ คิดเป็น 45%
ปี 2020 SG&A ต่อรายได้ คิดเป็น 49%
สำหรับค่าทำการตลาดก็เพื่อสร้างการรับรู้ต่อแบรนด์ เนื่องจาก Invisalign
ยังนับว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศนอกสหรัฐอเมริกา
ในขณะที่ค่าคอมมิชชัน ในที่นี้ก็คือคลินิกหรือโรงพยาบาลที่นำ Invisalign ไปให้บริการ
ซึ่งจุดนี้ก็ถือเป็นการกระตุ้นยอดขายทางอ้อม ของบริษัท โดยที่มีคุณหมอฟันเป็นผู้แนะนำสินค้าให้
ถึงตรงนี้ ก็น่าติดตามกันต่อไปว่านวัตกรรมจัดฟันใส Invisalign จะเติบโตไปได้อีกไกลแค่ไหน
เพราะหากให้ดูจากจำนวนผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับฟันไม่เรียงกันเป็นระเบียบนั้น
มีจำนวนมากเป็น 6 ใน 10 ของประชากรโลก ซึ่งนั่นก็อาจจะหมายถึงโอกาสในการเติบโตที่ไม่น้อย
ซึ่งนักลงทุน ก็น่าจะเห็นศักยภาพในการเติบโต เหมือน ๆ กัน
เพราะปัจจุบัน Align Technology มีมูลค่าบริษัทมากถึง 1.8 ล้านล้านบาท
หลังจากทำธุรกิจมาได้เพียง 24 ปี ใหญ่กว่าทุกบริษัทในตลาดหุ้นไทย
และซื้อขายกันที่ P/E สูงถึง 80 เท่า เลยทีเดียว..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.washingtonpost.com/archive/lifestyle/wellness/1995/09/19/the-origins-of-orthodontics/3bf16abe-f5f1-4667-a143-54e5a5b77464/
-https://www.zippia.com/align-technology-careers-387/history/
-https://www.orchardscottsdental.com/the-startup-story-behind-invisalign/
-https://www.globenewswire.com/news-release/2021/01/21/2162193/0/en/Orthodontics-Market-Size-Worth-USD-10-60-Billion-by-2027-Surging-Demand-for-Cosmetic-Dentistry-Procedures-will-be-the-Key-Factor-Driving-the-Industry-Growth-States-Emergen-Research.html
-https://www.orthodonticslimited.com/orthodontics/orthodontics-history/
-https://investor.aligntech.com/static-files/c591d579-29b0-4abb-8dbc-31f10686c40b
-https://finance.yahoo.com/quote/ALGN/financials?p=ALGN
-https://investor.aligntech.com/static-files/766a6eaa-7cc7-4846-883b-ba65adcb1faa
2021 startup ideas 在 200 Business Ideas in 2021 - Pinterest 的推薦與評價
Subscribe on Youtube for more ideas | #entrepreneur #makemoney #entrepreneurlife #money #business #youngentrepreneur #businessideas #startup #startupidea ... ... <看更多>